วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

ระบบและวิธีการเชิงระบบ
       ระบบ(System) หมายถึง การทำงานขององค์ประกอบย่อยๆอย่างอิสระแต่มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันจนกลายเป็นโครงสร้างที่สมบูรณ์ของแต่ละงาน
       วิธีการเชิงระบบ(System Approach) วิธีเชิงระบบหรือวิธีระบบคือคำๆเดียวกัน เป็นกระบวนการคิดหรือการทำงานอย่างมีแบบแผนชัดเจนในการนำเนื้อหาความรู้ด้านต่างๆ ซึ่งอาจเป็นวิธีการหรือผลผลิตมาประยุกต์ใช้อย่างเป็นขั้นตอน เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ

องค์ประกอบของวิธีระบบ
        วิธีระบบมีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ ได้แก่
1. ปัจจัยนำเข้า(Input) หมายถึง วัตถุสิ่งของต่างๆ รวมถึงเหตุการณ์ สถานการณ์ วัตถุประสงค์ ปัญหา ความต้องการ ข้อกำหนด กฎเกณฑ์ อันเป็นต้นเหตุของประเด็นปัญหา
2. กระบวนการ(Process) หมายถึง วิธีการ ขั้นตอนในการปฏิบัติงาน การสร้างสรรค์ การแก้ปัญหาเกี่ยวกับเนื้อหาและปัจจัยนำเข้าเป็นไปตามวัตถุประสงค์หรือความต้องการ
3. ผลลัพธ์(Output) หมายถึง ผลงานที่ได้จากกระบวนการจัดการวัตถุดิบหรือปัจจัยนำเข้าผลงานที่ได้รับอาจเป็นวิธีการหรือชิ้นงานที่ได้

2. ระบบสารสนเทศ
        ระบบสารสนเทศ(Information System) คือ การประมวลผลข้อมูลข่าวสารอย่างป็นขั้นตอนและเป็นกระบวนการเพื่อมห้ข้อมูลในรูปของข่าวสารที่เป็นประโยชน์สูงสุด ระบบสารสนเทศจึงเป็นระบบที่จัดตั้งขึ้นเพื่อปฏิบัติการเกี่ยวกกับข้อมูล ดังต่อไปนี้
1. รวบรวมข้อมูลทั้งภายใน ภายนอก ที่จำเป็นต่อหน่วยงาน
2. จัดกระทำเกี่ยวกับข้อมูลเพื่อให้เป็นสารสนเทศที่พร้อมจะใช้ประโยชน์ได้
3. จัดให้มีระบบเก็บเป็นหมวดหมู่ เพื่อสะดวกต่อการค้นหาและนำไปใช้
4. มีการปรับปรุงข้อมูลเสมอเพื่อให้อยู่ในสภาพที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบันตลอดเวลา

3. องค์ประกอบของสารสนเทศ
3.1 องค์ประกอบหลักของระบบสารสนเทศ
มีองค์ประกอบหลัก 2 ส่วน ได้แก่
       ระบบการคิด หมายถึง กระบวนการและขั้นตอนในการจัดลำดับ จำแนก แจกแจง และจัดหมวดหมู่ ข้อมูลต่างๆ เพื่อความสะดวกในการจัดเก็บและเผยแพร่
      ระบบเครื่องมือ หมายถึง วัสดุอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่นำมาใช้ในการรวบรวม จัดเก็บ และเผยแพร่สารสนเทศให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ

3.2 องค์ประกอบด้านต่างๆ ของระบบสารสนเทศ
       3.2.1  องค์ประกอบของสารสนเทศด้านจุดมุ่งหมายในการแก้ปัญหา มี 4 ประการ ได้แก่ ข้อมูล(Data) สารสนเทศ(Information) ความรุ้(Knowledge) ปัญญา(Wisdom) ที่ช่วยแก้ปัญหาในการดำเนินงาน
       3.2.2  องค์ประกอบของสารสนเทศด้านขั้นตอน ในการดำเนินงานมี 3 ประการ คือ ข้อมูลนำเข้า(Input) กระบวนการ(Process) และผลลัพธ์(Output)
       3.2.3  องค์ประกอบของสารสนเทศในหน่วยงาน ได้แก่ บุคคลหรือองค์กร เทคโนโลยี ข้อมูลและระบบสารสนเทศ
       3.2.4 องค์ประกอบระบบสารสนเทศทั่วไป(Information Process Systems) ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบดังนี้ คือ เครื่องคอมพิวเตอร์และเครือข่ายสื่อสารข้อมูล(Hardware) ข้อมูลสารสนเทศ(Information) โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์(Software) บุคลากรด้านคอมพิวเตอร์(Peopleware)

4. ขั้นตอนการจัดระบบสารสนเทศ
ขั้นที่ 1 การวิเคราะห์ระบบ(System Analysis)
1. วิธีวิเคราะห์แนวทางการปฏิบัติงาน(Mission Analysis) คือ การพิจารณาทิศทางในการดำเนินและจุดมุ่งหมายของระบบสารสนเทศ
2. วิเคราะห์หน้าที่(Functional Analysis) เป็นการกำหนดหน้าที่โดยละเอียดตามที่กำหนดไว้ในแนวทางปฏิบัติงานเกี่ยวกับสารสนเทศ
3. วิเคราะห์งาน(Task Analysis) เป้นการกำหนดสิ่งที่ต้องการการกระทำตามหน้าที่ที่ได้กำหนดไว้ในขั้นการวิเคาะห์หน้าที่ การวิเคราะห์หน้าที่และงานเป้นสิ่งขยายขั้นการวิเคราะห์แนวทางปฏิบัติงาน
4. วิเคราะห์วิธีการและสื่อ(Method-Means Analysis) เป็นการกำหนดหลักการปฏิบัติกลวิธี และสื่อที่จะนำไปสู่จุดมุ่งหมาย หรือสิ่งที่ต้องการ

ขั้นที่ 2 การสังเคราะห์ระบบ(System Synthesis)
      1. การเลือกวิธีการหรือกลวิธี เพื่อช่องทางไปสู่จุดมุ่งหมายแล้วทดสอบและทดลองกลวิธีเพื่อปรับปรุงให้เหมาะสมกับสารสนเทศที่วิเคราะห์และสังเคราะห์ไว้
      2. ดำเนินการแก้ปัญหาด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยเลือกกลวิธีที่เหมาะสมที่วางแผนแล้วก่อนใช้กลวิธีนั้นดำเนินการแก้ปัญหา
      3. ประเมินผลประสิทธิภาพการดำเนินงาน โดยการแก้ปัญหาแล้วประเมินผลเพื่อหาประสิทธิของผลลัพธ์ได้

ขั้นที่ 3 การสร้างแบบจำลอง(Construct a Model)
แบบจำลองเป็นการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดออกมาเป็นภาพที่มองเห็นได้อย่างชัดเจน ซึ่งอาจเป็นภาพลายเส้น หรือรูปสครามมิติ แบบจำลองระบบทำให้เข้าใจโครงสร้าง องค์ประกอบ และขั้นตอนในการดำเนินงาน

5. ประเภทของระบบสารสนเทศ

      1. ระบบสารสนเทศระดับบุคคล คือ ระบบที่เสริมประสิทธิภาพและเพิ่มผลงานให้แต่ละบุคคลในหน้าที่รับผิดชอบ
      2. ระบบสารสนเทศระดับกลุ่ม คือ ระบบสารสนเทศที่ช่วยเสริมการทำงานของกลุ่มบุคคลที่มีเป้าหมายการทำงานร่วมกันให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
      3. ระบบสารสนเทศระดับองค์อร คือ ระบบสารสนเทศที่สนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรในภาพรวม

6. ข้อมูลและสารสนเทศ
       6.1 ข้อมูล(Data)
       ข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริงที่ปรากฎให้เห็นเป็นประจักษ์สามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัส
ข้อมูลดิบ(Raw Data) หมายถึง วัตถุสิ่งของ เหตุการณ์ สถานการณ์ ที่มีคุณลักณะ หรือคุณสมบัติอยู่ในสภาพเดิม มีความเป็นอิสระเป็นเอกเทศในตัวมันเองยังไม่ผ่านการกลั่นกรอง

       6.2 สารสนเทศ(Information)
       สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่ผ่านการกลั่นกรองโดยการจำแนกแจกแจง จัดหมวดหมู่ การคำนวณ และประมวลผลแล้ว สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพต่อไปได้
 6.2.1 คุณสมบัติของข้อมูลสารสนเทศที่ดี
ข้อมูลสารสนเทศที่ดีจะต้องมีคุณสมบัติดังนี้
     1. ความถูกต้อง(Accurate)
     2. ทันเวลา(Timeliness)
     3. สอดคล้องกับงาน(Relevance)
     4. สามารถตรวจสอบได้(Verifiable)
     5. มีความสมบูรณ์ครบถ้วน(Integrity)
6.2.2 ชนิดของข้อมูล
     1. ข้อมูลที่เป็นตัวแปล(Numeric type)
     2. ข้อมูลที่เป้นตัวอักขระ(Character type)
     3. ข้อมูลที่เป็นตัวอักษรเลข(Alphanumeric type)
     4. ข้อมูลมัลติมีเดีย(Multimedia)


6.3 ความรู้
       ความรู้ เป็นสภาวะทางสติปัญญาของมนุษย์ในการตีความสิ่งเร้าทั้งที่อยู่     ภายในและภายนอกด้วยความเข้าใจสาระของเนื้อหา กระบวนการ และขั้นตอน อาจอยู่ในรูปของข้อมูลดิบหรือสารสนเทศระดับต่างๆ หรืออาจอยู่ในรูปของอารมณ์ความรู้สึกและเหตุผล คุณสมบัติของความรุ้อาจให้ทั้งประโยชน์และโทษต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการใช้ความรู้ให้เป็นประโยชน์จำเป็นต้องกำกับด้วยสติปัญญา

6.4 การประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ
       6.4.1 ขั้นตอนการประมวลการผลข้อมูล(Data processing steps)
       1. การรวบรวมข้อมูล(Data collection) หมายถึงการเก็บข้อมูลจำนวนมากจากแหล่งกำเนิด(Capturing) มาทำการเข้ารหัส(Coding) ในรูปที่เหมาะสมต่อการจัดเก็บ และการบันทึก(Recording) ในสื่อที่สามารถเก็บไว้ได้นานๆ
        2. การบำรุงรักษาและประมวลผลข้อมูล(Data  Maintenance  Processing)  ประกอบด้วยปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยตลอดเวลา(Updating)  ทำการแยกประเภท(Classifying)  จัดเรียงข้อมูล(Sorting)  และคำนวณหาข้อมูลใหม่จากข้อมูลที่มีอยู่แล้ว(Calculating)  เพื่อให้ใช้งานได้หลากหลายมากขึ้น
      3. การจัดการข้อมูล(Data  Management)  คือการสร้างระบบจัดการข้อมูลจำนวนมาก  ให้สามารถนำมาใช้งานได้รวดเร็วทันเวลา
      4. การควบคุมข้อมูล(Data  Control)  เป็นการป้องกันรักษาข้อมูลที่จัดเก็บไว้แล้วให้ปลอดภัย
      5. การสร้างสารสนเทศ(Information  Generation)  เป็นการตีความหมายของข้อมูลที่ได้มาแล้ว  ค้นคว้าหาความหมายหรือความสำคัญที่มีคุณค่าของข้อมูลที่ได้โดยการนำไปประมวลผลด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง

6.4.2 วิธีการเก็บข้อมูล(Data  Collection  Methods) 
       1. การสำรวจด้วยแบบสอบถาม
       2. การสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง
       3. การนับจำนวนหรือวัดขนาดด้วยตนเองหรือโดยใช้อุปกรณ์อัตโนมัติ

เครื่องคอมพิวเตอร์และเครือข่ายสื่อสารข้อมูล  หมายถึง  คอมพิวเตอร์ที่เป็นเครื่่องประมวลผลข้อมูล  มีอยู่ 2 ประเภท คือ
       1. สถานีงาน(Workstation)  หมายถึง  คอมพิวเตอร์ที่ใช้งาน ณ จุดที่จัดไว้ให้ผู้ใช้มาใช้ร่วมกัน  บางทีเรียกว่า  คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล(Personal  Computer หรือเรียกย่อๆว่า PC)
       2. เครื่องบริการ(Server)  เป็นเครื่องขนาดใหญ่ที่ใช้ร่วมกันหลายคนเป็นเครื่องที่ใช้เก็บฐานข้อมูลหรือโปรแกรมสำเร็จประยุกต์

เครือข่ายข้อมูล คือ  เครือข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่งใช้เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องกันให้สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันหรือแลกเปลี่ยนกันได้
        1. แลน  (LAN = Local  Area  Network) คือ เครือข่ายบริเวณเฉพาะที่
        2. แวน (WAN  = Wide  Area  Network)  คือ เครือข่ายบริเวณกว้าง
        3. อินเทอร์เน็ต (Internet) คือ เครือข่ายขนาดใหญ่